วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

ยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

2.4.3 ยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่จำหน่ายได้

ยาเสพติดให้โทษและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่จำหน่ายได้ ได้แก่ ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และ 4 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยาที่มีใบอนุญาตเพื่อการจำหน่ายยาเสพติดประเภทดังกล่าว

2.4.3.1 ยาเสพติดให้โทษประเภท 3ในการจำหน่ายยาประเภทนี้ นอกจากเจ้าของร้านขายยาต้องขออนุญาตทางการให้จำหน่ายแล้ว ยังต้องทำบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายของแต่ละเดือนเพื่อแจ้งแก่ทางการด้วย สำหรับผู้ซื้อจะต้องให้ชื่อและที่อยู่ทางร้านไว้ ในขณะจำหน่ายก็ต้องมีเภสัชกร (แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง) ผู้ควบคุมปฏิบัติการอยู่ สำหรับยาตำรับที่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 3 สังเกตได้จากที่ข้างภาชนะบรรจุจะมีตัวอักษรสีแดงว่า “ยาเสพติดให้โทษประเภท 3” กำกับไว้
2.4.3.2 วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และ 4ในการจำหน่ายยาประเภทนี้ นอกจากเจ้าของร้านขายยาต้องขออนุญาตทางการให้จำหน่ายได้แล้ว ยังต้องทำบัญชีเกี่ยวกับการซื้อขายของแต่ละเดือนเพื่อแจ้งแก่ทางการด้วย สำหรับผู้ซื้อจะต้องนำใบสั่งแพทย์มาซื้อ ในขณะจำหน่ายก็ต้องมีเภสัชกร (แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง) และผู้ควบคุมปฏิบัติการอยู่ ยาเป็นวัตถุออกฤทธิ์นี้อาจเป็นตำรับยาเดี่ยวๆ หรือเป็นตำรับยาที่มีตัวยาชนิดอื่นปรุงผสมร่วม
2.4.4 ยาและสารทั่วไปที่เสพติดได้ ซึ่งกฎหมายไม่ได้ควบคุมเป็นยาเสพติด

2.4.4.1 ยาทั่วไปที่เสพติดได้ยาบางตำรับที่มียาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์เป็นส่วนผสม แต่ก็ไม่ถูกควบคุมด้วยกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้เพราะปริมาณขนาดบรรจุ หรือขนาดของยาที่ออกฤทธิ์ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด (เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ขนาด 180 มิลลิลิตร เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่ขนาด 180 มิลลิลิตร เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 แต่ขนาด 60 มิลลิลิตรไม่ใช่ หรือ Bellerga ที่มีส่วนผสมของฟีโนบาร์บิทาล 20 มิลลิกรัม ถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 แต่ Tedral ซึ่งมีส่วนผสมของยาดังกล่าว 8 มิลลิกรัม ไม่ใช่) หรือมีตัวยาที่เสพติดยาก (เช่น ต้องใช้ขนาดสูงมากและระยะเวลาการใช้ติดต่อกันค่อนข้างนาน) มีตัวยาเสพติดที่จะไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม (เช่น ไม่มีแนวโน้มว่าติดแล้วจะก่อให้เกิดคดีอาชญากรรม) มีตัวยาที่สามารถพบได้ในเครื่องดื่มประจำวัน (เช่น คาเฟอีนในกาแฟ และชา) ไม่เป็นตัวยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคที่คนเป็นกันได้ทั่วไป (เช่น โรคหืด) อย่างไรก็ดี ยาตำรับเหล่านี้ได้ถูกจัดแบ่งเป็นยาประเภทต่างๆ ตามความรุนแรงที่จะทำให้เกิดอันตรายหรือการเสพติด โดยแบ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน ยาบรรจุเสร็จ ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ
นอกจากนี้ ยังมียาที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ด้วย เช่น ยาดองเหล้าชนิดต่างๆ หรือยาเตรียมจำพวกอีลิเซอร์ ซึ่งเมื่อเสพขนาดมากหรือติดต่อกันนานๆ ก็เสพติดได้เช่นเดียวกับการติดเหล้า
2.4.4.2 สารทั่วไปที่เสพติดได้นอกเหนือจากยาดังกล่าวแล้ว สารทั่วไปที่พบเห็นได้รอบตัวเรา ซึ่งมาในรูปแบบต่างๆ ก็ทำให้เกิดการเสพติดได้ แต่กฎหมายไม่ได้ควบคุมเป็นยาเสพติด
2.4.5 ความจำเป็นในการเรียนรู้เรื่องยาเสพติด

ยาเสพติดไม่ว่าชนิดใดหากเกิดการเสพติด ย่อมก่อให้เกิดปัญหาได้ ทั้งนี้เพราะยาเสพติดทั้งหลายล้วนก่อให้เกิดพิษภัย โดยเฉพาะชนิดที่ผิดกฎหมาย ซึ่งไม่เพียงก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้เสพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงต่อประเทศชาติด้วย กล่าวกันว่า การมีกฎหมายที่รัดกุมจะสามารถลดปัญหาของยาเสพติดลงได้ แต่จากผลการศึกษาพบว่า การให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่นักเรียน และประชาชนเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดและถูกทางที่สุด สำหรับเรื่องเกี่ยวกับยาเสพติดที่ควรรู้ มีดังนี้

2.4.5.1 พิษภัยของยาเสพติด
ยาเสพติดชนิดที่ผิดกฎหมายและยาเสพติดชนิดที่ไม่ผิดกฎหมาย ล้วนก่อให้เกิดโทษและพิษภัย ในสถานการณ์ปัจจุบันผู้คนซึ่งติดยาเสพติดชนิดถูกกฎหมายได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ยาแก้ปวด เครื่องดื่มเสริมพลัง เหล้า บุหรี่ กาแฟ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เสพไม่ค่อยตระหนักว่า สิ่งเหล่านี้ก็สามารถก่อให้เกิดโทษและอันตรายได้ เช่นเดียวกับการเสพยาเสพติดชนิดผิดกฎหมาย นอกจากนี้ การติดยาเสพติดชนิดถูกกฎหมาย ยังเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การติดยาเสพติดชนิดผิดกฎหมายต่อไปได้ (เพราะได้ฤทธิ์รุนแรงกว่าโดยไม่ต้องใช้ขนาดมาก) จึงปรากฏว่ามีผู้ติดยาเสพติดชนิดถูกกฎหมายมาก่อน

2.4.5.2 ชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติด
ยาเสพติดชนิดเดียวกันอาจมีชื่อที่ใช้เรียกซ้ำๆ กัน เช่น เฮโรอีน อาจเรียกว่าไอระเหย ผงขาว ซึ่งชื่อซ้ำนี้ บางคนอาจไม่รู้ เมื่อถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดชนิดนี้โดยใช้อีกชื่อหนึ่ง ก็เสพเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ ดังตัวอย่างมีผู้เสพติดเฮโรอีนบางคนซึ่งรู้ถึงพิษภัยของยาเสพติดชนิดนี้ แต่ปรากฏว่าที่เสพเพราะคนที่ให้เสพบอกว่าเป็นผงขาว

2.4.5.3 รูปที่ยาเสพติดอาจแฝงหรือผสมมา
ความจริงการหลีกเลี่ยงการกินหรือสูบของที่ผู้แปลกหน้าหยิบยื่นให้ สามารถป้องกันยาเสพติด
โดยไม่รู้ตัวได้ แต่ถ้าเป็นคนรู้จักหยิบยื่นยาเสพติดให้ ผู้รับก็สามารถหลีกเลี่ยงการเสพยาเสพติดโดยไม่
รู้ตัวได้ด้วยการสังเกตลักษณะของที่ได้รับ ถ้าเป็นยาเสพติดหรือมีส่วนผสมของยาเสพติดก็อาจอยู่ในลักษณะต่างๆ ต่อไปนี้ เช่น ผงสีขาวชิมแล้วมีรสขม ยาเม็ดปั๊มตราแปลกๆ แคปซูลสีต่างๆ มีลักษณะเป็นฝ้าๆ ไม่เงาหรือมีผงติด บุหรี่มีไส้เป็นสีเขียวๆ เวลาจุดบุหรี่สูบมีกลิ่นเหมือนเชือกหรือหญ้าแห้งไหม้ไฟ หรือเถ้าบุหรี่เป็นสีดำ เป็นต้น เมื่อรู้ลักษณะเช่นนี้ตั้งแต่ต้นก็จะสามารถช่วยหยุดยั้งการเสพต่อไปได้

2.4.5.4 สาเหตุของการติดยาเสพติด
การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้น เนื่องจาก
1. ความอยากลอง อยากรู้รสชาติ
2. เพื่อนติดยาเสพติดชักชวนให้เสพ เพราะต้องการหาสมาชิกให้มาร่วมเสพด้วยเพื่อจะขอ
เงินไปซื้อยามาเสพ หรือบางทีก็หลอกว่าเสพแล้วมีกำลังวังชาดี สมองโปร่ง หายง่วงนอน
3. ถูกหลอกให้เสพเพื่อประโยชน์ในการค้ายาเสพติด โดยที่ผู้ถูกหลอกไม่ทราบว่าสิ่งนั้นเป็น
ยาเสพติด
4. ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้เกิดการเสพติดได้อย่าง
ไม่รู้ตัว ถ้าใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการแนะนำจากแพทย์
5. สภาพแวดล้อมของสถานที่อยู่อาศัยที่มีการค้ายาเสพติดหรือมีผู้ติดยาเสพติด
6. เพื่อหนีปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว และปัญหาทางการเงิน เป็นต้น

2.4.5.5 ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด
ผู้ที่ติดยาเสพติดจะมีลักษณะและความประพฤติเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมโทรมลง ที่พอ
จะสังเกตได้คือ
1. ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
- สภาพร่างกายทรุดโทรม ผอมซูบซีด ไม่มีแรง สกปรก
- ตาแดงช้ำ น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
- ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง แตก
- มีรอยฉีดยา หรือรอยแผลเป็นที่ถูกกรีดด้วยของมีคมจากการทำร้ายตนเอง จนต้องสวมเสื้อแขนยาวเป็นประจำเพื่อปกปิดรอยแผล
- มักสวมแว่นกันแดดสีเข้มเพื่อป้องกันแสงสว่างเนื่องจากม่านตาขยาย
2. ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและความประพฤติ
- อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด แต่บางคนก็เงียบขรึม ผิดปกติ
- เกียจคร้าน เบื่อเกียจคร้านการเรียนหรือการทำงาน ประสิทธิภาพในการเรียนและการ
ทำงานลดลง
- ชอบแยกตัวไปอยู่คนเดียวเงียบๆ ทำตัวลึกลับ ไม่เข้าหน้าผู้อื่น
- ง่วงเหงาหาวนอน ตื่นสายผิดปกติ
- ใช้เงินเปลืองผิดปกติ
- ขโมยของฉกชิงวิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
- อ่อนแอ ขี้โรค
- ไม่สนใจตนเอง แต่งกายไม่สุภาพ
- เบื่ออาหาร ไม่รับประทานอาหารตามปกติ

2.4.5.6 อาการของผู้ที่ต้องการยาเสพติด
เมื่อผู้ที่ติดยาเสพติดขาดยา จะเกิดอาการอยากยาอย่างรุนแรงคือ
1. น้ำมูล น้ำตาไหล หาวนอน
2. กระสับกระส่าย หายใจถี่ลึก จะพยายามหามาเสพให้ได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใด
3. คลื่นไส้ อาเจียน
4. ท้องเดิน อาจจะถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เรียกว่า “ลงแดง”
5. ขนลุก เหงื่อออกมาก
6. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
7. ดิ้นทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง เสียสติ

2.5.7 โทษของการติดยาเสพติด
1. ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย
2. อาจจะเกิดโรคเอดส์ได้ ถ้าใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดร่วมกันในกรณีที่เสพยาโดยวิธีฉีด เนื่องจากมีเลือดของผู้มีเชื้อเอดส์ค้างอยู่และไม่ได้ทำความสะอาด
3. เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เพราะสมองเสื่อม
4. จิตใจไม่ปกติ ไม่มีอำนาจบังคับใจตนเอง เป็นเหตุให้ทำผิดกฎหมายและศีลธรรม
5. สังคมรังเกียจ
6. เสียทรัพย์
7. มีความผิดทางกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น